6 พฤษภาคม 2024
hilight-หลัก Sport Story

⚽️🌎World cup DREAM🏟️ ทำไม”แอลจีเรีย”ช่วยปาเลสไตน์จัดบอลโลก!?!

…..แอลจีเรีย แถลงการณ์ว่า จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลให้กับ ทีมชาติปาเลสไตน์ ในการเป็นสนามเหย้าฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ที่จะเตะในเดือนหน้า

ตามคำขอจากสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ แคมเปญฟุตบอลโลกปี 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 2 ซึ่ง ปาเลสไตน์ อยู่ในกลุ่ม ไอ ร่วมกับ ออสเตรเลีย, เลบานอน และเนปาล

ปาเลสไตน์ มีกำหนดเริ่มรอบคัดเลือกนัดแรกของพวกเขา ซึ่งจะไปเยือน เลบานอน ในวันที่ 16 พฤศจิกายน จะเล่นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยการแข่งขันในฐานะ ‘ทีมเหย้า’ กับออสเตรเลีย ในอีก 5 วันต่อมาดูเหมือนว่าจะเล่นในแอฟริกาเหนือ

หลังจากการโจมตีอิสราเอลโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาส ในวัน “ซิมหัต โทราห์” วันสำคัญทางศาสนา นับเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวยิวเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 ราย ฉนวนกาซาตกเป็นเป้าของการโจมตีและตอบโต้กันทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 ราย โดยที่ชาวอิสราเอลเตรียมเปิดฉากโจมตี การรุกภาคพื้นดินใกล้เข้ามาทุกขณะ

“ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแอลจีเรีย นายวาลิด ซาดี ประกาศว่าประเทศของเราจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันปาเลสไตน์-ออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน” สหพันธ์แอลจีเรีย แถลงการณ์

“การแข่งขันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการของทีมฟุตบอลปาเลสไตน์สำหรับฟุตบอลโลกปี 2026 และรอบคัดเลือกเอเชียนคัพปี 2027” ถือเป็น “ตามหน่วยงานชั้นนำของแอลจีเรีย โดย สหพันธ์แอลจีเรีย จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าเดินทางและที่พัก ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ของชาวปาเลสไตน์”

สำหรับ สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ ซึ่งมีสนามกีฬาแห่งชาติตั้งอยู่ในเวสต์แบงก์ จึงได้ขอความช่วยเหลือจากภายนอก ในขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยระบุว่าสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียได้ขอให้จัดการแข่งขันกับ ออสเตรเลีย ในสถานที่ที่เป็นกลาง

📍มีคำถามมากมายว่า ทำไม แอลจีเรีย ถึงช่วยเหลือในครั้งนี้อย่างยินดีและเต็มใจมาก ๆ

…….ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน ชัยของของ แอลจีเรีย ในศึกฟุตบอลอาหรับคัพ 2021 ที่ประเทศกาตาร์ ปรากฎว่า มีการเฉลิมฉลองที่ชายหาด มาเฮอร์ อัล-บาก้า ในกาซา ประเทศปาเลสไตน์ กันอย่างเอิกเกริก

ผู้เฉลิมฉลองระบุว่า แม้ว่าทีมชาติปาเลสไตน์จะตกรอบแบ่งกลุ่ม แต่เรามองว่าทีมแอลจีเรียเป็นของเราเอง และชัยชนะของพวกเขาก็เป็นของเรา พวกเขาสนับสนุนและรักเรามากกว่าประเทศหรือทีมอาหรับอื่น ๆ

ตลอดทัวร์นาเมนต์ 18 วันที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพ การสนับสนุนปาเลสไตน์ได้รับการแสดงออกมาอย่างชัดเจน ในระหว่างพิธีเปิด เสียงเชียร์ที่ดังที่สุดจากแฟนๆ ที่เข้าร่วมงานเกิดขึ้นระหว่างเพลงชาติปาเลสไตน์ ถูกเปิด

สิ่งที่สวยงามเกี่ยวกับอาหรับคัพรอบชิงชนะเลิศ ระหว่าง ตูนิเซีย กับ แอลจีเรีย นั่นก็คือ พวกเขาชูธงชาติปาเลสไตน์

นอกจากนี้ ธงปาเลสไตน์ ยังปรากฏอยู่ในสนามกีฬาจากแฟนฟุตบอลในสนาม จนอาจจะทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าพวกเขาเป็นแฟนบอลของปาเลสไตน์ หรือ ปาเลสไตน์ ลงสนามหรือเปล่า

📍มีการให้สัมภาษณ์ หลังจบเกมที่ แอลจีเรีย เขี่ย โมร็อกโก ตกรอบก่อนรองชนะเลิศ กองหลัง ฮูซีน เบนายาดา ชี้ไปที่ธงแอลจีเรียและปาเลสไตน์ที่เขาพาดไว้บนตัว พร้อมกับกล่าวว่า “เราไม่ได้เล่นเพื่อโบนัสใดๆ เราเล่นเพื่อสิ่งเหล่านี้ เพื่อธงชาติสองชาตินี้”

โค้ชชาวแอลจีเรีย “มาจิด บูเฮอร์รา” ได้อุทิศชัยชนะของประเทศของเขาให้กับปาเลสไตน์ และให้กับโดยเฉพาะ “ฉนวนกาซา”

แต่การสนับสนุนปาเลสไตน์แบบชัดเจน บ่อยครั้ง(บางคนเรียกโจ๋งครึ่ม) เมื่อเทียบกับประเทศอาหรับอื่น ๆ แล้ว มันยังไงกันแน่?!?!?

📍ตามคำบอกเล่าของ ทากรีด อัล-อามูร์ นักข่าวกีฬาและสมาชิกคณะกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลปาเลสไตน์ อัล-ฮิลาล ระบุว่า ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวแอลจีเรียต่อปาเลสไตน์นั้นแพร่หลายในหมู่รัฐบาลและสาธารณชน ตรงไปตรงมา

ตรงกันข้ามกับรัฐบาลอาหรับส่วนใหญ่ที่มี

หลายชาติแยกตัวออกจากการสนับสนุนจากประชาชนในประเด็นของชาวปาเลสไตน์ และมีความสัมพันธ์ที่เป็นมาตรฐานกับอิสราเอล หรือมีการติดต่อทางเบื้องหลังหรือไม่ นั่นคือคำถาม

เพื่อเป็นการตอบแทนในน้ำใจ มีการติดธงแอลจีเรียปรากฏให้เห็นในที่ต่างๆ ทั่วจัตุรัส, ศูนย์กลาง และร้านค้าของเมืองต่างๆ เช่น รามัลลาห์, กาซา และเยรูซาเลม พร้อมกับมีการชูธงขึ้นระหว่างการประท้วงในเขตเวสต์แบงก์ที่ถูกยึดครองเพื่อต่อต้าน อิสราเอล

📍การสนับสนุนฟุตบอลของชาวแอลจีเรียสำหรับปาเลสไตน์ ได้ดึงดูดความสนใจมาโดยตลอดถึงความจำเป็นในการสนับสนุนของชาวอาหรับอย่างต่อเนื่อง เพื่อสิทธิในการตัดสินใจของตนเอง และการยุติการยึดครองของอิสราเอล

ผู้สื่อข่าว อัลจาซีร่า รายหนึ่งระบุว่า การทำปฏิกริยานี้ เพื่อเป็นการส่งข้อความสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของชาวอาหรับ และการปฏิเสธลัทธิล่าอาณานิคม พร้อมกับการฟื้นฟูทุกอย่างให้เป็นปกติ

กล่าวคือ กุศโลบายที่ว่า “ความสามัคคีเหนือลัทธิการล่าอาณานิคม”

📍นี่คือเหตุผลสำคัญว่า ทำไม แอลจีเรีย ถึงได้ “เข้าถึง” เบื้องลึกของ ปาเลสไตน์

แอลจีเรีย ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นเวลา 132 ปี ได้รับฉายาในหมู่ชาวอาหรับว่าเป็น “ประเทศที่มีผู้พลีชีพ”

มาเฮอร์์ มีซาฮี นักข่าวกีฬาชาวแอลจีเรีย กล่าวว่า ความสามัคคีและความรักที่มีอยู่ระหว่างชาวแอลจีเรีย กับ ชาวปาเลสไตน์ เกี่ยวข้องกับความจริงที่ว่าชาวแอลจีเรียเข้าใจถึงความหายนะของลัทธิล่าอาณานิคมของผู้ตั้งถิ่นฐาน

🖍️แอลจีเรีย กับ ปาเลสไตน์ เข้าตำราคือ หัวอกเดียวกัน

มีความรู้สึกไม่พอใจระบบอาณานิคม🖍️

อดีตประธานาธิบดี “ฮูอารี บูเมเดียน” แห่งแอลจีเรียที่โด่งดังในช่วงต้นทศวรรษ 1970 เคยกล่าววลีที่ว่า “เราจะอยู่กับชาวปาเลสไตน์ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้ถูกกดขี่หรือผู้กดขี่ก็ตาม”

……สงครามอิสรภาพของแอลจีเรียในปี 1954-62(พ.ศ. 2497-2505) มีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายต่างประเทศของประเทศและการสนับสนุนเพื่อการปลดปล่อยผู้คนอาณานิคมทั่วโลก ปาเลสไตน์ก็ไม่มีข้อย

กเว้น

โดยองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO : Palestine Liberation Organization)) ที่มี นายยาสเซอร์ อาราฟัต เป็นผู้นำขบวนการ ได้จัดตั้งสำนักงานในกรุงแอลเจียร์ ไม่นานหลังจากได้รับเอกราช

ในปี 1988 PLO ประชุมกันที่แอลเจียร์ เพื่อประกาศสถาปนารัฐปาเลสไตน์

📍การที่ประเด็นปัญหาของชาวปาเลสไตน์มีความสำคัญต่อชาวแอลจีเรียนั้นปรากฏชัดเจนในสนามกีฬา ซึ่งเป็นการอธิบายว่า เป็นการสะท้อนที่ถูกต้องถึงสิ่งที่รู้สึกในสังคม เนื่องจากแฟนบอลมีเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้นในพื้นที่นั้น

สนามกีฬาเป็นเหมือนกระบอกเสียงที่ทำให้ชนชั้นแรงงานในแอลจีเรีย ได้มีโอกาสพูดออกมาผ่านพื้นที่ตรงนี้

ซึ่งการเคลื่อนไหวประท้วงของชาวแอลจีเรีย ในปี 2019 ระดับหนึ่งเริ่มต้นในสนามกีฬา ถือเป็นหนึ่งในการอ้างถึงการประท้วงที่ภายในไม่กี่เดือนบีบให้ประธานาธิบดีแอลจีเรีย “อับเดลาซิซ บูเตฟลิกา” ต้องอำลาตำแหน่ง

“คนหนุ่มสาว ปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมคบค้าสมาคมกับทางการเมือง เพราะพวกเขามองว่าคนเหล่านี้ซับซ้อน ดังนั้นพวกเขาจึงใช้สนามกีฬาเป็นเวทีเพื่อแสดงความรู้สึกและจุดยืนของพวกเขา”

“สนามฟุตบอลได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในการสนับสนุน, การแสดงออก หรือสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคมหลายประการ ผ่านการร้องเพลง, ป้ายโปสเตอร์ หรือเพลง ซึ่งสนามกีฬายังเป็นสถานการณ์ที่ในการวัดการรับรู้ของมวลชนอีกด้วย” อัลจาซีร่า ระบุ

ขณะเดียวกัน คำว่า’ฟาลาสทีน ชูฮาดา (Falasteen Chouhada)” ซึ่งหมายถึง “ปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งผู้พลีชีพ” กลายเป็นหนึ่งในการนำเสนอผ่านทางแฟนบอลแอลจีเรีย

ประโยคดังกล่าวจะร้องบนอัฒจันทร์ตลอดการแข่งขันที่ทีมชาติแอลจีเรีย อยู่่ในสนาม

📍ตามคำกล่าวของ ยูเซฟ ฟาเตซ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโอรัน เกี่ยวกับ “Falasteen Chouhada” นั้นมาจากมาจากบทสวด Bab El Oued El Chouhada ซึ่งหมายถึงชาวอัลจีเรียมากกว่า 500 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มและเป็นแฟนฟุตบอล ได้ถูกสังหารโดยรัฐบาลในการจลาจลเมื่อปี 1988 หลังจากการประท้วงต่อต้านสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ของพวกเขาในย่านบ๊าบ เอล โออัด ในเมืองหลวงแอลเจียร์

“การร้องเพลงนั้นถือเป็นแก่นของเรา ทำให้ทีมชาติแอลจีเรียได้ใช้เรื่องนี้ในการสนับสนุนประเด็นชาวปาเลสไตน์”

การเปล่งเสียง “Falasteen Chouhada” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ซึ่ง แอลจีเรีย กับ ปาเลสไตน์ ลงสนามเตะบอลนัดกระชับมิตร ซึ่งมีแฟนบอลมากกว่า 70,000 คนเข้าร่วมการแข่งขัน

เสียงเชียร์ในสนามกีฬาปะทุขึ้นด้วยความอิ่มเอมใจ หลังจากที่ฝ่ายปาเลสไตน์ทำประตูได้ และสำหรับหลาย ๆ คน สิ่งนี้ไม่อาจสรุปความรักของชาวแอลจีเรียที่มีต่อปาเลสไตน์ได้ดีไปกว่านี้อีกแล้ว

มาเฮอร์ อัล-บาก้า เจ้าของร้านกาแฟจากฉนวนกาซากล่าวว่าความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกร่วมกันผ่าน อัลจาซีร่า

“ทุกครั้งที่ทีมเล่น ร้านกาแฟของเราจะเต็มไปด้วยผู้สนับสนุน แม้ว่าเราจะอยู่ห่างกัน แต่แอลจีเรียก็อยู่ใกล้หัวใจเราที่สุด”


📍เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว รัฐบาลแอลจีเรีย เคยรับหน้าเสื้อครั้งสำคัญสุด ๆ ด้วยการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเจรจาไกล่เกลี่ย ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ของปาเลสไตน์ ที่กรุงแอลเจียร์

โดยที่ประชุมได้ตกลงในการปรองดอง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขความขัดแย้งก้ำกึ่งกันไปมานานนับสิบๆปี

มีผู้นำปาเลสไตน์ ทั้งสิ้น 14 ฝ่าย เข้าร่วม!!!!

ไม่มีชาติใดทำได้ แต่ แอลจีเรีย ทำได้ !!!

📍ในโลกของกีฬา เคยมีเหตุการณ์สำคัญชัดเจนก็คือ เฟธี นูรีน นักกีฬายูโดทีมชาติแอลจีเรีย ตัดสินใจถอนตัวจากการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อย่างกะทันหัน หลังจากเธอทราบว่า ถ้าเธอผ่านรอบแรก จะเข้ารอบสองไปเจอกับ โตฮาร์ บุตบุล จากอิสราเอล

……แอลจีเรีย เป็นหนึ่งในชาติกลุ่มสมาชิกสันนิบาตอาหรับ(League of Arab States) ซึ่งก่อตั้งปี 1945 ก่อนที่ ยิว จะประกาศเอกราชของรัฐของตนเองขึ้น ตามพื้นที่ที่สหประชาชาติแบ่งให้ในอีก 3 ปีต่อมา(วันที่ 14 พฤษภาคม 1948)โดยใช้ชื่อประเทศว่า อิสราเอล

แน่นอนว่า ชาวปาเลสไตน์ ไม่พอใจ เพราะอยู่ในแผ่นดินนี้มายาวนานนับร้อยปี

แล้วก็มาถูก สหประชาชาติ(ยูเอ็น:United Nations) แบ่งพื้นที่ประเทศให้กับชาวยิวที่มาทีหลัง แม้ประวัติศาสตร์นั้นเคยใช้ชีวิตที่นี่มาก่อน แต่ก็ถือว่าได้อพยพลาจรไปยาวไกล

📇📍แต่ผลจากสงครามโลก ครั้งที่ 1 กับ “คำประกาศบัลโฟร์” (Balfour Declaration) และผลจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 กับ การหนีตายจากการตามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ทำให้พวกเขากลับมาพื้นที่ตรงนี้อีกครั้ง

ทำให้กลุ่มสมาชิกสันนิบาตอาหรับ รวมถึงประเทศในโลกมุสลิมอื่น ๆ ไม่ยอมรับและทำการ “คว่ำบาตร” อิสราเอลมาจนถึงปัจจุบัน

แอลจีเรีย ชัดเจนมาก และเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่ปฏิเสธผู้ถือพาสปอร์ตอิสราเอล เข้าประเทศ แม้ อิสราเอล จะถูกจัดว่าเป็นท็อป 20 ของโลกใบนี้ที่ทรงอิทธิพลในการขอวีซ่าหรือสัญชาติก็ตาม

⏰นับไปนับมาเวลาก็ล่วงเลยมากถึง 7 ทศวรรษ ณ ดินแดนนี้ก็ยังคงไม่พ้นจากกลิ่นอายของระเบิด, การนองเลือด และเสียงร้องไห้จากการสูญเสีย

หลายอย่างถูกผลกระทบจากการเมือง และไม่มีอะไรได้รับการยกเว้น

กีฬายอดฮิตอย่าง “ฟุตบอลโลก” ก็เช่นเดียวกัน

สิ่งที่หวังและวิงวอนก็คือว่า ไม่ต้องการให้มีอะไรเกินเลยหรือสูญเสียไปกว่านี้

อยากให้สงครามจะจบโดยเร็ววัน…ต่างชาติต่างศาสนา

แต่ทั้้งหมดก็คนเหมือนกัน

บีแหลมสิงห์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *