7 พฤษภาคม 2024
Sport Story

“สงครามดอกกุหลาบ(The War of The Roses)” ฉบับ(ไม่)สมบูรณ์

การเรียงร้อย, ประดิษฐ์ประดอย และโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่างลงตัวกับคำว่า “สงครามดอกกุหลาบ(The War of The Roses)” จากตำนานของการต่อสู้ชิงบัลลังก์มาจนถึงในโลกของฟุตบอล

เกิดขึ้นมาพักใหญ่ ๆ บนโลกใบนี้

ไม่เพียงแต่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับ ลีดส์ แต่ในยุคปัจจุบัน ขอนำเสนอโลกฟุตบอลได้ขีดเขียนตำนานเพิ่มเติมเกี่ยวโยงเข้ากับ “จิ้งจอกสีน้ำเงิน” เลสเตอร์ ซิตี้ อีกด้วย

บันทึกนี้มีความเป็นมาที่น่าสนใจ และกลายเป็นที่สนใจของทุกคน ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

“กุหลาบขาว” กับ “กุหลาบแดง”!!!

………..สงครามดอกกุหลาบใช้เวลากว่า 30 ปี ในการรบหลายบันทึกระบุว่า ปฐมบทเกิดขึ้นที่ เซนต์ อัลบันส์ 22 พฤษภาคม 1455 ก่อนจะมีการรบมากถึง 20 ครั้งเกิดขึ้นในระหว่างปี 1455-1485 ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์ (House of Lancaster) กับราชวงศ์ยอร์ก (House of York) กระทั่งครั้งสุดท้ายที่ บอสเวิร์ธ ฟิลด์ 22 สิงหาคม 1485

แต่บางบทระบุเอาไว้ สงครามดอกกุหลาบครั้งปิดตำนานคือที่ “สโต๊ค ฟิลด์” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1487 ต่างหาก

สงครามเริ่มต้นขึ้นจาก “พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6” แห่งแลงคาสเตอร์ในช่วงเวลาที่สงคราม 100 ปีระหว่าง อังกฤษ กับ ฝรั่งเศสที่กินเวลายาวนานนับแต่ ค.ศ. 1337 ถึง 1453 สิ้นสุดลงหมาดๆ โดยพระองค์ถูกครอบงำโดยข้าราชบริพาร และขุนนางที่แสวงหาผลประโยชน์

…..ในปี 1453 สงครามแห่งสายเลือดจึงอุบัติขึ้น เมื่อ“ริชาร์ดแห่งยอร์ก (Richard of York)” จาแดนเหนือ อ้างสิทธิ์ถึงการเป็น “ผู้พิทักษ์ราชบัลลังก์” และขอเป็น “ผู้สำเร็จราชการ” และได้รับการสนับสนุนจากประชาชน พร้อมกับได้กุมอำนาจเหนือกว่าทำให้ พระราชินีมาร์กาเร็ต (Margaret of Anjou) ทรงปลุกเร้าใช้ราชวงแลงคาสเตอร์ ลุกขึ้นสู้กับริชาร์ดจากแดนเหนือ

……ปี 1483 คือที่สุดแห่งช่วงเวลาที่เขม็งเกลียว การชิงบัลลังก์ครั้งประวัติศาสตร์เดินทางมาถึง เมื่อ “คิง ริชาร์ด ที่ 3” ปรากฏตัวขึ้น ในฐานะเวลานั้นคือ ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (Richard, Duke of Gloucester)
พระองค์เป็นน้องของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ได้เข้ามาอ้างสิทธิ์เหนือราชบัลลังก์ หลังจากการสวรรคตอย่างกะทันหันของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4

ตามปกติแล้ว พระโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 จะได้ขึ้นปกครองประเทศ นั่นคือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แต่ ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ อ้างสิทธิ์ว่า การเสกสมรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับพระราชินีเอลิซาเบธ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อเป็นแบบนั้นแล้ว โอรสที่มีอยู่ 2 พระองค์ จึงเป็น“ลูกนอกสมรส” และสำคัญที่สุดก็คือ “ไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์”

นับจากวันนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ที่ยังทรงพระเยาว์ถูกกำจัดออกไป และไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้เลยถึงชะตากรรมของพระองค์ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แต่ที่แน่ๆ ผู้ที่ครองราชย์ก็คือ อาแท้ๆ ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5

ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์….ได้เป็น พระเจ้าริชาร์ด หรือ คิง ริชาร์ด ที่ 3
พระองค์เป็นกษัตริย์ในช่วง ค.ศ. 1483-1485 ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ในยุทธการสงครามกับราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่บอสเวิร์ธ (The Battle of Bosworth Field)

ซึ่งเป็น “สงครามดอกกุหลาบ” ครั้งสุดท้ายของอังกฤษ และสิ้นสุดยุคกลาง

พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์กและราชวงศ์แพลนทาเจเนต และยังเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้าย ที่สวรรคตในสมรภูมิการรบในประเทศตัวเอง
ตำนานมีอยู่ว่า เฮนรี่แห่งทิวเดอร์ (Henry Tudor Earl of Richmond) ได้อ้างสิทธิ์ในฐานะผู้สืบสิทธิ์การครองราชย์ จากสายเลือดราชวงศ์แลงคาสเตอร์

ศึกสายเลือดที่บอสเวิร์ธ จึงอุบัติขึ้นเป็นหนแรกในรอบ 14 ปีนับจากจบศึกที่เทวเคสบิวรี่ (The Battle of Tewkesbury)

……คิง ริชาร์ดที่ 3 กำลังพุ่งเข้าแทง เฮนรี่ ทิวดอร์ แต่ก็ถูกทหารชาวเวลส์นายหนึ่งใช้ง้าวฟันเข้าที่พระเศียร จากนั้นพระศพที่เปลือยเปล่าถูกบรรทุกบนหลังม้ากลับมาที่เมืองเลสเตอร์และให้สาธารณชนได้เป็นประจักษ์พยานการสิ้นพระชนม์ ก่อนที่จะนำไปฝังที่โบสถ์นักบวชที่เรียกว่า เกรย์ไฟร์อาร์ส (Greyfriars) โดยไม่ปรากฏว่ามีพระราชพิธีศพอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

เมื่อพระศพไม่ได้ถูกทำพิธีเหมือนบรรพกษัตริย์ แถมยังถูกฝังเอาไว้รวมกับนักรบ และทหาร พร้อมกับมีความเชื่อว่า หลุมฝังศพได้ถูกทำลายในช่วงสงครามปฏิรูปทางศาสนาอีกด้วย

จากวันนั้นเป็นต้นมา ไม่มีใครค้นหาท่านเจออีกเลย กระทั่ง 527 ปีต่อมา จึงค้นพบที่เลสเตอร์ เมื่อปี 2012 ก่อนจะได้รับการพิสูจน์และตั้งอนุสาวรีย์ขึ้น ในช่วงเวลาที่ “จิ้งจอกสีน้ำเงิน” เลสเตอร์ ซิตี้ พุ่งไปเป็นแชมป์ลีกสูงสุดครั้งแรกของสโมสรพอดิบพอดี!!!!

……….สงครามสงบลง และทุกอย่างยุติเมื่อ เมื่อ เฮนรี่แห่งทิวเดอร์ ขึ้นครองราชย์เป็น “พระเจ้าเฮนรี่ที่ 7” พร้อมกับการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ กับ เอลิซาเบธแห่งยอร์ก และรวม “กุหลาบทั้งสองสี” เข้าด้วยกัน กลายเป็น “กุหลาบแห่งทิวดอร์”

….ว่ากันว่า “ภาพจำ” เกิดขึ้นจากการเขียนบทละครเรื่อง“เฮนรี่ที่ 6” ของ วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ที่เขียนขึ้นในปี 1591 หรือกว่าร้อยปีจากเหตุการณ์ครั้งนั้น โลกได้จำภาพที่ เช็คสเปียร์ ได้ร่ายบรรยายเหตุที่ว่า ทั้งสมาชิกจากสองตระกูลได้ไปที่สวนดอกไม้ แล้วเลือกกุหลาบแดงและขาว มาเป็นสัญลักษณ์

แม้จะขึ้นครองราชย์แล้ว แต่ คิง เฮนรี่ ที่ 7 ก็ต้องปราบกบฏผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อไป ก่อนจะสามารถควบคุมอำนาจเอาไว้ได้ทั้งหมด และผู้ที่พยายามสมอ้างทั้งหลาย ก็หมดอำนาจต่อกรกับราชวงศ์ใหม่

น่าสนใจก็คือ สงครามดอกกุหลาบที่กล่าวขวัญถึงนี้ “ราชวงศ์ยอร์ก” ได้ใช้สัญลักษณ์ของ “กุหลาบขาว” มาก่อนที่สงครามจะเริ่มต้นขึ้น แต่ “ราชวงศ์แลงคาสเตอร์” เพิ่งจะนำ “กุหลาบแดง” มาใช้ ภายหลังจากการคว้าชัยที่สมรภูมิบอสเวิร์ธ

……ทั้งหมดนี้แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกับ “ฟุตบอล”????

แน่นอนที่สุด พื้นที่ต่างๆ ร่องรอยประวัติศาสตร์ คนอังกฤษ ไม่เคยพลาดที่จะนำมาหยิบจับเพื่อให้เป็นตำนาน เป็นที่กล่าวขวัญถึง

แมนฯยูไนเต็ด กับ ลีดส์ จึงถือเป็นตัวแทนของการต

อกรคราครั้งนั้น เนื่องจากเป็น “ปฏิปักษ์ระหว่างมณฑล” แม้ว่าแผนที่ปัจจุบันระบุว่า บอนสเวิร์ธ จะปักอยู่ไปทาง “เลสเตอร์เชอร์” มากกว่าก็ตาม

แต่นี่คือเส้นละติดจูดฟุตบอลที่ถูกขีดเขียนเอาไว้ว่า มณฑลประวัติศาสตร์ของแลงคาเชอร์ กับ ยอร์กเชอร์ ที่นี่แหล่ะมีความเชื่อว่า คือต้นกำเนิดในสงครามดอกกุหลาบที่แท้จริง
แม้ว่าเมืองลีดส์ กับ เมืองแมนเชสเตอร์ จะห่างกันกว่า64 กิโลเมตร

แต่ประพณีดังกล่าวนี้ยังคงยึดถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากินเข้าไปสู่ความรู้สึกของแฟนฟุตบอลทั่วโลกไปแล้ว

พูดง่ายๆ ว่า ไม่ต้องสร้าง แต่ก็เหมือนกับ “แบรนด์ๆ หนึ่ง”ไปแล้วนั่นเอง

ว่ากันตามเชิงก็คือ ทั้งคู่ไม่เคยได้บดบี้กันเท่าไหร่นักในวงการฟุตบอล จะมีบ้างคือยุค 70 ที่เป็นยุคของ เซอร์แมตต์ บัสบี้ของแมนยูฯ กับ ดอน เรวี่ส์ ของลีดส์

ก่อนจะบี้กันสุดๆ ก็คือช่วงรอยต่อระหว่างการเปลี่ยนจากดิวิชั่น 1 มาเป็น พรีเมียร์ลีก

เอกอุที่สุดก็คือ การย้ายทีมของ เอริค คันโตน่า ที่มาจาก ลีดส์ แล้วร่วมสร้างความสำเร็จกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

อาจจะบอกได้เลยว่า “ก็องโต้” คือสัญลักษณ์ของ “สงครามดอกกุหลาบ” ได้ดีที่สุดของวงการฟุตบอล ของการปะทะระหว่างสองทีมนี้ก็ได้ในยุคหลัง

ส่วนบางคนที่ชวนทะเลาะไม่เลิกกับเรื่องที่ว่า เพลง Glory Glory เป็นของใครกันแน่นอน

สรุปว่า “สมบัติผลัดกันชม” ก็แล้วกัน

เพราะทีมแรกที่ร้องเพลงนี้คือ ฮิเบอร์เนี่ยน ในสกอตแลนด์

ตั้งแต่ยุค 1950 โน่นเลย(โว้ย)🤣🤣🤣!!!

บี แหลมสิงห์

ปล. ถ้าจะเอาไปใช้ ก็รบกวนให้เครดิตบ้างนะครับ เพราะที่นี่ใช้แบบออร์แกนนิก ไม่ใช้ระบบ”กร็อบเบลาห์”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *